Anatomy และโยคะ

เมื่อก่อนไม่เข้าใจว่าทำไมเรียนโยคะแล้วต้องรู้หลักกายวิภาคศาสตร์ รู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัว หาความเชื่อมโยงไม่ค่อยได้ แต่พอตอนหลังที่ได้มาศึกษา Anatomy ในเชิงแพทย์ (จากอาจารย์ของเราเอง) เลยเริ่มมองเห็นความเชื่อมโยงของการเรียน Anatomy กับการฝึกโยคะมากขึ้น

พอเรียนเราก็เริ่มรู้ว่าปอดและระบบหายใจอยู่ตรงส่วนไหนในร่างกาย และระบบประสาทคู่ไหนที่ควบคุมการทำงานของระบบนั้น ทำให้เชื่อมโยงได้ว่าทำไมท่าที่ช่วยเปิดยืดกล้ามเนื้อช่วงอก เช่น ท่าอูฐทราสนะ ถึงช่วยเสริมการทำงานของปอด และระบบหายใจ ส่งผลดีกับคนที่เป็นภูมิแพ้ หอบหืด และชอบสูบบุหรี่จัด

เราเริ่มรู้ว่าอวัยวะไหนและระบบประสาทคู่ไหนที่ควบคุมการย่อย การดูดซึม การเผาผลาญ และการขับถ่าย และทำไมการฝึกท่าพับตัว เช่น ท่าปัจจิโมตาสนะ ถึงมีประโยชน์ในการกระตุ้นการทำงานของระบบเหล่านั้น (ก็เพราะอวัยวะที่ทำงานพวกนั้นมันอยู่ตรงช่องท้องไง)

เราเริ่มเข้าใจว่าระบบประสาทที่อยู่บริเวณหลังส่วนล่างส่งผลต่อการทำงานของมดลูกและอัณฑะ ทำให้คนที่นั่งทำงานนานๆ เมื่อกล้ามเนื้อส่วนนี้ตึงและหดตัว ถึงส่งผลเสียไปสู่ระบบสืบพันธุ์ของทั้งเพศชายและเพศหญิง ทำให้มีลูกยาก มีลมออกช่องคลอด และอวัยวะเพศไม่แข็งตัว และการฝึกท่าใดๆ ที่ช่วยคลายหลังส่วนล่างถึงส่งผลดีกับระบบสืบพันธุ์ เช่น ท่ามาลาสนะ ท่าภัสสาสนะ
พอเราเรียน เราเข้าใจมากขึ้น เริ่มมองเห็นความเชื่อมโยง ทำให้เราเข้าใจประโยชน์ของท่าโยคะแต่ละท่าได้ลึกซึ้งกว่าเดิม ยิ่งรู้สึกทึ่งว่า โห โยคีเค้าก็คิดกันมาได้ตั้งนานแล้วเนอะ (จริงๆ คือเค้าน่าจะสังเกตเห็นได้จากร่างกายของตัวเอง)

“ตายก็ฝัง ยังก็ฝึก”

ยิ่งศึกษาก็ยิ่งเข้าใจว่าทำไมอาจารย์ถึงบอกแบบนั้น ของดีที่อยู่มาเกิน 5000 ปี ชาตินี้ได้เจอครูที่สอนให้รู้จักสิ่งนี้แล้ว จะเรียนจนกว่าจะเลิกสอน สนุกจุงเบย 😚

ปล. โยคะไม่ใช่ยาแต่เป็นวิถี การอวดอ้างสรรพคุณไม่มี อยากรู้ขอเชิญชวนให้ลองฝึกเองดูค่ะ ☺️
——
ถ้าอยากลองฝึกโยคะเพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเรา มาเรียนด้วยกันในคอร์สออนไลน์ได้นะคะ สนใจดูเพิ่มเติมได้ที่ www.pordiporyoga.com หรือ inbox มาคุยกันได้เลยค่า 🌿

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top
Scroll to Top