แชร์ประสบการณ์การสร้างบ้าน 🏡

ตั้งแต่เด็กจะมีนิตยสารอยู่สองหัวที่กวางได้อ่านอยู่เรื่อยๆ หนึ่งคือชีวจิตเพราะที่บ้านรับนิตยสารแบบรายเดือน และสองคือบ้านและสวนเพราะเป็นความสนใจของกวางเอง ตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ที่เราชอบและสนใจเรื่องการออกแบบตกแต่งบ้าน ชอบนั่งเปิดดูรายละเอียดงานสถาปัตย์ ชอบดูงานออกแบบบ้านหลายๆ รูปแบบ ชอบมากขนาดเคยไปฝึกงานที่กองบรรณาธิการนิตยสารบ้านและสวน

พอเราดูบ้านมาเรื่อยๆ ตามความสนใจ เราก็เริ่มเห็นรูปแบบที่แตกต่างกันของบ้านแต่ละแบบชัดเจนขึ้น เริ่มรู้ว่าตัวเองชอบอะไรไม่ชอบอะไร เริ่มรู้ว่าบ้านแบบไหนที่เราอยากอยู่ และอยู่แล้วจะไม่เบื่อ

ถ้าถามว่ากวางชอบบ้านแบบไหน แบบที่อธิบายได้ชัดที่สุดน่าจะเป็นว่า กวางอยากได้บ้านสไตล์วัดป่า

แต่ไม่ใช่วัดป่าที่ไหนก็ได้นะ (วัดป่าก็มีหลายแบบอยู่)

กวางมีวัดป่าที่ชอบมากๆ อยู่วัดหนึ่ง ชื่อวัดป่าเมตตาคีรี จ.ชัยภูมิ พระอาจารย์ที่เป็นเจ้าอาวาสท่านบวชมานานหลายพรรษา ทำให้ท่านได้มีโอกาสไปเยือนวัดป่าหลายๆ ที่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีคนเคยเล่าให้ฟังว่าท่านเก็บเกี่ยวทั้งข้อดีและข้อด้อยในการออกแบบของแต่ละวัดมาเรื่อยๆ เก็บเป็นไอเดียสะสมไว้ แล้วพอวันหนึ่งที่ท่านได้มีโอกาสสร้างวัดด้วยตัวเอง ท่านก็บรรจงทำ เริ่มตั้งแต่ปลูกป่าในสวนส้มที่แห้งแล้ง ค่อยๆ วางแผนผังของวัด ทำทุกอย่างทีละเล็กละน้อยนานนับสิบปี แม้แต่ประตูวัดท่านก็ออกแบบและทำกันเองกับญาติโยม (สวยเก๋มากๆ) จนออกมากลายเป็นวัดที่ร่มรื่นสวยงามราวกับงานสถาปัตยกรรมชั้นดีที่อยู่กลางหุบเขาในต่างประเทศ

ครั้งแรกที่ได้เห็นวัดนี้ กวางว้าวมาก ด้วยความที่เราชอบงานสถาปัตย์อยู่แล้ว แล้วงานที่ดูเรียบแต่ดูออกว่าคิดเยอะเรายิ่งเห็นคุณค่า และที่ว้าวที่สุดคืองานไม้ที่เรียบง่าย ขรึม สงบ และลงตัว

กวางถามหาช่างไม้ที่ทำวัดนั้นตั้งแต่วันแรกที่ได้เห็นเลยค่ะ

นั่นเป็นครั้งแรกที่กวางได้รู้จักช่างไม้มืออาชีพ ซึ่งน้องคนนี้เป็นหนึ่งในช่างที่ทำงานให้พระอาจารย์

แม้น้องจะเคยทำงานโปรเจ็คอื่นให้ที่บ้านกวางมาบ้างแล้ว แต่โดยส่วนตัวกวางไม่เคยทำงานกับน้อง ทำให้ตอนแรกต้องขอลองทำงานด้วยกันในโปรเจ็คเล็กๆ ก่อน โชคดีว่าตอนนั้นที่บ้านกำลังต้องการรีโนเวทห้องครัวอยู่พอดี พอได้ลองทำงานด้วยกันก็เรียกว่าถูกอัธยาศัย และฝีมือน้องก็ดีมาก สุดท้ายเลยตัดสินใจฝากฝังกับน้องล่วงหน้าว่าถ้าพี่ทำตัวบ้านเสร็จเมื่อไหร่ ช่วยมาทำเฟอร์นิเจอร์บิวต์อินให้ที่บ้านใหม่พี่ด้วยนะ

บ้านและสตูดิโอโยคะที่กวางทำ จริงๆ แล้วแบบเฟอร์นิเจอร์ที่ได้จากสถาปนิกไม่ได้ละเอียดอะไร เพราะเราจ่ายค่าแบบน้อยมากเมื่อเทียบกับขนาดของพื้นที่ แล้วตอนนั้นผู้รับเหมาก็เร่งจะเอาแบบเพราะต้องการเริ่มสร้างฐานรากโครงสร้างตึกเลย แบบบ้านเลยเสร็จแค่การแบ่งพื้นที่ใช้สอย แปลนไฟฟ้า ปลั๊กไฟ และหน้าตาตึก แต่รายละเอียดพวกเฟอร์นิเจอร์บิวต์อินเราคิดกันว่าสุดท้ายก็ต้องปรับตามหน้างานอยู่ดี เลยไม่ได้ลงรายละเอียดกันจริงจัง ดังนั้นงานบิวต์อินเลยเรียกได้ว่าฝากฝังไว้กับประสบการณ์ของช่างไม้แทบจะ 100%

แน่นอนว่าแบบและสไตล์กวางพอรู้ว่าตัวเองต้องการแบบไหน แต่คนที่จะประกอบร่างโครงสร้างภายในของบิวต์อินชิ้นนั้นให้ออกมาได้ดั่งใจก็คือช่างไม้

ในการทำงานแต่ละชิ้นเราคุยกันเยอะมาก หลายอย่างกวางหาแบบเองจากหนังสือ จาก pinterest หลายอย่างที่คิดเองไม่ได้เพราะต้องอาศัยความเป๊ะเรื่องไซส์จริงๆ กวางก็จ้างน้องอินทีเรียเพิ่มเติมแบบเฉพาะส่วน หลายอย่างน้องช่างไม้ก็ช่วยคิดและเสนอแนะให้ พวกเราทำงานกันแบบลูกทุ่งมากๆ คือแบบวาดมือ (ยกเว้นงานของน้องอินทีเรียที่ใช้คอมวาด) วัดชิ้นงานกันเอง คิดกันเอง แบบไม่มีทฤษฎีตามหนังสืออะไร มีแต่เอาประสบการณ์ของแต่ละคนจับมาชนกัน กว่าจะได้ออกมาแต่ละแบบแต่ละชิ้นก็ใช้เวลา

ขั้นตอนตั้งแต่การพาไปรู้จักไม้แบบต่างๆ รู้จักราคาไม้แต่ละชนิด เพื่อที่เราจะพอกะได้ว่าเราไหวที่ประมาณไหน ช่วยกันคิดแบบ ตบไปตบมา ไม้ด้านใน ไม้ด้านนอก บางทีก็ใช้ไม้คนละชนิดกันขึ้นอยู่กับราคา ส่วนไหนที่สามารถทำให้สวยในราคาไม่แพงได้ก็ทำ

อย่างตู้เสื้อผ้ากวาง ปกติถ้าเป็นตู้แบบมีพื้นตู้ มีบานปิดจะราคาแพงมาก แต่เนื่องจากตู้เสื้อผ้าเราเป็นแบบ walk through คือเป็นทางเดินที่ใช้ผ่านเพื่อเข้าห้องน้ำด้วย ก็เลยคิดว่าไม่จำเป็นต้องทำบานปิดก็ได้ แค่ทำราวแขวนง่ายๆ และหาชั้นพลาสติกมูจิมาใส่ หาม่านมากั้นแยกพื้นที่ก็สวยแล้ว จากตู้ราคาหลักแสนก็เหลืออยู่แค่หลักพัน

แล้วเราก็ไปลงทุนกับส่วนที่เห็นและใช้งานบ่อยแทน อย่างตู้หนังสือ ประตูบ้าน และห้องครัว

กวางมีส่วนช่วยในทุกขั้นตอนของการทำบ้านหลังนี้จริงๆ ตั้งแต่คิดฟังค์ชั่นทุกอย่าง เลือกพื้นไม้ เลือกกระเบื้องทุกชิ้น เลือกความสูงเคาน์เตอร์ครัว เลือกไม้ด้านนอกด้านในบิวต์อิน เลือกออกแบบการใช้งาน ลิ้นชักเล็กใหญ่ ชั้นสูงต่ำเท่าไหร่ นึกไม่ออกว่ามีอะไรที่ไม่ได้คิดบ้าง เพราะคิดมาแล้วเกือบทุกเรื่องเท่าที่สมองน้อยๆ จะคิดออกเกี่ยวกับบ้าน คิดหลายๆ รูปแบบ หลายๆ สถานการณ์

มันเป็นความทรมานบันเทิงรูปแบบหนึ่ง คือเราร้องไห้กับโปรเจ็คนี้ไปเยอะมาก เพราะมันก็จะมีช่วงที่เรายุ่งกับงานอื่นจนหัวหมุน มีช่วงที่คิดไม่ออกว่าควรจะเอาแบบไหน เพราะหลายๆ อย่างคือไม่มีความรู้ก็ต้องไปถามคนอื่น ไปอ่านเพิ่ม ไปศึกษาเพิ่ม แต่ในขณะเดียวกันมันก็มีความสะใจที่ได้ทำสิ่งที่เคยอยากทำมาตั้งแต่เด็กคือการออกแบบบ้านของตัวเอง

อย่างช่วงแรกๆ ที่โครงห้องน้ำฝั่งสตูโยคะเพิ่งเสร็จ กวางเดินเข้าไปดูแล้วตกใจว่าของจริงมันแคบกว่าที่เราเห็นในแบบมาก ก็เลยได้วิ่งถือแบบแปลนไปปรึกษาพี่สาวเพื่อนสนิทที่เป็นสถาปนิก ซึ่งตอนหลังเจ้คนนี้คือคนที่กวางวิ่งไปหาทุกครั้งที่กวางรู้สึกสิ้นไร้หนทางแล้วจริงๆ (ซึ่งก็เกิดขึ้นถึงสามครั้ง) เจ้ดูแปลนแล้วก็จัดแจงแก้แบบให้ด้วยการขีดเส้นแค่ไม่กี่เส้น แต่ปัญหาจบแถมพื้นที่ใช้สอยในห้องน้ำดูใช้งานได้ดีมากขึ้นกว่าเดิม

แม้แต่ตอนทำพื้นหินขัดเจ้คนนี้ก็เป็นคนช่วยตีตารางลายเส้นของพื้นหินขัดให้ (พื้นหินขัดมีข้อจำกัดคือต้องวาดเส้นเป็นลายทุกๆ 3-5 ตารางเมตร กวางจำชัดเจนไม่ได้ แต่ที่ต้องทำเพราะมันจะช่วยให้พื้นไม่ร้าวต่อกันเป็นเส้นยาวในกรณีที่มันเกิดร้าวขึ้นมา) ตอนที่รู้ว่ามันต้องตีเส้นที่พื้นกวางนี่มึนตึ้บและโทรหาเจ้เป็นคนแรก บอกเจ้อย่างกระมิดกระเมี้ยนว่าหนูขอแบบง่ายๆ เจ้นั่งดูแปลนอยู่แป๊บนึง เอาไม้บรรทัดมานั่งวัด เล็งหาตำแหน่งที่ตรงกับการแบ่งซอยห้อง ตรงกับตำแหน่งเสาแล้วเจ้ก็ขีดๆๆ ดูเหมือนง่ายนะ แต่ถ้าไม่มีประสบการณ์ก็คงทำแบบนี้ไม่ได้

อย่างตอนที่เราไปปรึกษาเจ้เรื่องปัญหาสีของไม้จริง (เล่าไว้อยู่ด้านล่าง) เจ้ก็เล่าว่าตอนเจ้ทำบ้านเองเจ้ก็ถึงกับเอาแผ่นไม้มานั่งเรียงกันเพื่อหาเฉดสีที่ใกล้เคียงกัน แล้วค่อยเอาให้ช่างปูแยกทีละส่วนๆ ก่อนลงสีที่เนื้อไม้จริง เราก็โอเค ที่คิดว่าเราละเอียดแล้วเราก็ยังไปไม่ถึงจุดที่เค้าอยู่จริงๆ (จุดที่เจ้อยู่นี่ไกลมาก ไกลลิบเลย)

อย่างพื้นหินขัดเอง ผู้รับเหมาของกวางก็เป็นคนแรกที่พูดเสนอขึ้นมาตอนที่คุยถามกันว่าพื้นชั้น 1 ชั้น 2 จะปูพื้นด้วยวัสดุอะไร เพราะพื้นที่ค่อนข้างใหญ่และยังไม่มีแพลนการใช้งานที่ชัดเจน ซึ่งกวางมองว่าถ้าปูกระเบื้องไปมันก็จะกลายเป็นการกำหนดมู้ด & โทนของพื้นที่ไปพอสมควร จะไม่สามารถพลิกแพลงได้มาก เผลอๆ อาจจะต้องปูใหม่ภายหลัง

แล้วพอลองไปดูพื้นหินขัดก็เห็นว่าเดี๋ยวนี้เค้ามีแบบที่ทันสมัย มีลายและสีที่ดูใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น เลยได้ลองหาช่างดู ช่างคนนี้กวางก็เจอจากในกลุ่มเฟซบุ๊คธรรมศาสตร์มาร์เก็ตเพลส เป็นคุณพ่อของน้องร่วมสถาบัน ซึ่งคุณพ่อก็ใจดีมาก มีอาสาจะมาขัดพื้นปิดท้ายหลังช่างทุกทีมออกจากหน้างานให้ด้วย

== พังแล้วพังได้อีก ==

ส่วนที่กวางคิดว่าเป็นความพังที่สุดของงานที่เกิดขึ้นในโปรเจ็คนี้ คืออะไรที่เรากลัวมันมักจะเกิดขึ้นจริง

สำหรับกวางเรื่องนั้นคือสี

สีเป็นความหลอนส่วนตัวของกวางมาตั้งแต่ไหนแต่ไร เพราะถ้าใครที่ตามเพจกวางมานานกวางจะเคยเล่าบ้างว่ากวาง (คิดเอาเองว่า) มีความสามารถในเรื่องการลอกรูป แต่กวางไม่มีความสามารถเลยในเรื่องสี กวางแยกสีไม่ออก กวางไม่เข้าใจความแตกต่างของสี และมันเป็นเรื่องที่กวางกลัวที่สุดว่าจะพลาดเพราะเราบอกไม่ได้ว่าอะไรมากไปน้อยไป เรารู้แค่ว่าเราชอบอะไรไม่ชอบอะไร แต่ก็ต้องมาในสเกลที่ใหญ่พอ เช่น ถ้าทาสีมาบนแผ่นกระดาษเล็กๆ แล้วจะให้จินตนาการว่าสีนี้ไปอยู่บนผนังทั้งผืนคือทำไม่ได้ บอกไม่ได้ว่าชอบหรือไม่ชอบ ไม่เข้าใจ ไม่สามารถ ไม่ไหวจริงๆ

ดังนั้นเรื่องนี้จึงเป็นความกลัวตั้งแต่แรกที่เริ่มทำงานบิวต์อินไม้แล้ว ว่าเราทำงานไม้ออกมาสวยขนาดนี้ จะไปพลาดตอนสุดท้ายที่การลงสีมั้ย เพราะงานเฟอร์นิเจอร์ไม้จริงจะออกมาสวยหรือไม่สวยต้องอาศัยฝีมือของช่างสี ไม่เหมือนงานไม้ลามิเนตที่สามารถเลือกสีลามิเนตปิดผิวจากในแบบได้เลย

แล้วสรุปเราก็พลาดจริงๆ พลาดหนักมาก บิวต์อินชิ้นใหญ่ของกวางเกือบทุกชิ้นลงสีผิด.. อย่างน้อยชิ้นละสองรอบ บางชิ้นสามรอบ ตอนนั้นช๊อกมาก พูดไม่ออก แล้วช่างสีก็ติสท์จัด แทนที่จะลองลงสีแค่ส่วนเดียวแล้วให้เรามาตรวจก่อนว่าใช่อย่างที่ต้องการมั้ย มันดันลงทั้งชิ้น โห โกรธมากแต่พูดไม่ออก ไม่รู้จะด่าคำไหน จนรอบที่สามคือโทรไปหาน้องที่เป็นหัวหน้างาน ระบายความในใจที่ทุ่มเทกับสิ่งนี้มาหลายปี แล้วจบด้วยคำว่าพี่ผิดหวังในตัวน้องมาก (ที่ไม่คุมช่างให้พี่เลย) ด่าได้มากที่สุดคือเท่านี้จริงๆ

ความโชคดีคือช่างเรามีสามัญสำนึกที่ดี ไม่ทิ้งงาน และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการลอกสีทั้งหมด ลอกทำใหม่ ลอกทำใหม่ เพราะตราบใดที่ยังทำงานชุ่ย สุกเอาเผากิน พี่ก็ปล่อยไม่ได้เหมือนกัน

ผลสุดท้ายผ่านไปเกือบสามเดือนกับน้ำตาครึ่งถังและฝันร้ายอีกหลายคืน เราก็ได้สีบิวต์อินที่ถูกใจ แต่ก็มีร่องรอยฝากไว้ตามเฟอร์นิเจอร์มากมายจากการที่ต้องล้างสีหลายรอบ ซึ่งถ้าเราเป็นคนละเอียดจุกจิกกว่านี้ก็คงจะไม่ยอม แต่เพราะเหนื่อยแล้วและถือว่าเป็นบาดแผลแห่งเกียรติยศก็เลยปล่อยผ่าน

มารู้ตอนหลังว่าปัญหาเกิดจาก หนึ่ง คือช่างสีรีบเพราะอยากจะกลับบ้านไปหาลูก สอง คือส่งรูปสีเฟอร์นิเจอร์กันทางมือถือแล้วใช้มือถือคนละรุ่น สีที่แสดงบนหน้าจอมันเลยต่างกันทำให้สื่อสารกันไม่รู้เรื่อง และแน่นอนสาม คือระบบการคุมงานของน้องไม่ดีพอ

สุดท้ายเราได้เรียนรู้ว่าการทำบ้านมันต้องปล่อยวางบางเรื่องจริงๆ เพราะมันหาความสมบูรณ์แบบไม่ได้ อย่างเสาที่บ้านกวางจริงๆ ก็เบี้ยวเกือบทุกต้นเลย แต่เพราะเราไม่ได้จ้างคนไปตรวจเช็กงานตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง แล้วเราเองก็ดูของพวกนี้ไม่ออก แต่เพราะส่วนตัวไม่ได้คิดว่ามันเป็นเรื่องใหญ่ (ยังไงมันก็ยังทำหน้าที่รับน้ำหนักของมันได้ละน่ะ) เลยปล่อยผ่านไป แต่ถ้าอันไหนไม่ได้จริงๆ ก็ค่อยจี้

ทำบ้านครั้งนี้ฝึกกวางเยอะมาก ฝึกให้เรามีสติ ฝึกให้เรามีวินัย บิ้วท์พลังตัวเองเยอะๆ เพราะจะหลุดไม่ได้ ถ้าช่วงไหนที่งานเดินหน้าไว เราก็ต้องมีสติ มีแรงใจที่จะติดตามงาน ซื้อของและประสานงานทุกอย่างให้เสร็จราบรื่น

ด้วยความที่กวางคิดเผื่อล่วงหน้ามาแล้ว ทำให้กวางตั้งสติได้ตั้งแต่แรกว่าเราจะทำให้ดีที่สุด จะไม่ผ่อนแรง จะทำเต็มที่ทุกเวลาที่ต้องดีลเรื่องบ้าน ตลอดสี่ปีที่ผ่านมากวางเลยพูดได้ว่ากวางทำได้ดีประมาณ 90% ของที่กวางควรทำแล้ว อีก 10% ที่เหลือก็คือผิดพลาดบ้าง แต่กวางรับได้เพราะมันที่สุดของกวางในแต่ละช่วงแล้วจริงๆ บางทีเราก็มีเรื่องราวอื่นๆ เข้ามาที่ทำให้เราหลุดโฟกัสไป แต่มันก็คือเต็มที่ของตอนนั้นแล้ว

ดังนั้นโปรเจ็คนี้เลยเป็นความภูมิใจว่าเป็นโปรเจ็คฝึกสติ ฝึกความปล่อยวาง ฝึกการจัดการ ฝึกการบริหารเงิน ทำให้กวางได้เรียนรู้และเติบโตขึ้นในอีกด้านของตัวเอง และตอนนี้มันก็ใกล้จะจบแล้ว (กำลังเข้าสู่ช่วงเก็บงานรอบสุดท้ายของทุกทีม และเตรียมทำความสะอาดแล้ว)

ก็หวังว่าจะผ่านไปอย่างราบรื่น (ขอสักเรื่องเถ้ออ ปีนี้หนักแบบอัพเลเวลมาหลายเรื่องแล้ว เหนื่อยนะรู้มั้ย 😂)

ฝากสวดมนต์เผื่อให้กวางด้วยนะคะ (พูดจริงไม่ได้พูดเล่นน้าา) สาธุล่วงหน้าค่ะทุกคน 🙏🏻🙏🏻🙏🏻

“แชร์ประสบการณ์การสร้างบ้าน 🏡

ตั้งแต่เด็กจะมีนิตยสารอยู่สองหัวที่กวางได้อ่านอยู่เรื่อยๆ หนึ่งคือชีวจิตเพราะที่บ้านรับนิตยสารแบบรายเดือน และสองคือบ้านและสวนเพราะเป็นความสนใจของกวางเอง ตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ที่เราชอบและสนใจเรื่องการออกแบบตกแต่งบ้าน ชอบนั่งเปิดดูรายละเอียดงานสถาปัตย์ ชอบดูงานออกแบบบ้านหลายๆ รูปแบบ ชอบมากขนาดเคยไปฝึกงานที่กองบรรณาธิการนิตยสารบ้านและสวน

พอเราดูบ้านมาเรื่อยๆ ตามความสนใจ เราก็เริ่มเห็นรูปแบบที่แตกต่างกันของบ้านแต่ละแบบชัดเจนขึ้น เริ่มรู้ว่าตัวเองชอบอะไรไม่ชอบอะไร เริ่มรู้ว่าบ้านแบบไหนที่เราอยากอยู่ และอยู่แล้วจะไม่เบื่อ

ถ้าถามว่ากวางชอบบ้านแบบไหน แบบที่อธิบายได้ชัดที่สุดน่าจะเป็นว่า กวางอยากได้บ้านสไตล์วัดป่า

แต่ไม่ใช่วัดป่าที่ไหนก็ได้นะ (วัดป่าก็มีหลายแบบอยู่)

กวางมีวัดป่าที่ชอบมากๆ อยู่วัดหนึ่ง ชื่อวัดป่าเมตตาคีรี จ.ชัยภูมิ พระอาจารย์ที่เป็นเจ้าอาวาสท่านบวชมานานหลายพรรษา ทำให้ท่านได้มีโอกาสไปเยือนวัดป่าหลายๆ ที่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีคนเคยเล่าให้ฟังว่าท่านเก็บเกี่ยวทั้งข้อดีและข้อด้อยในการออกแบบของแต่ละวัดมาเรื่อยๆ เก็บเป็นไอเดียสะสมไว้ แล้วพอวันหนึ่งที่ท่านได้มีโอกาสสร้างวัดด้วยตัวเอง ท่านก็บรรจงทำ เริ่มตั้งแต่ปลูกป่าในสวนส้มที่แห้งแล้ง ค่อยๆ วางแผนผังของวัด ทำทุกอย่างทีละเล็กละน้อยนานนับสิบปี แม้แต่ประตูวัดท่านก็ออกแบบและทำกันเองกับญาติโยม (สวยเก๋มากๆ) จนออกมากลายเป็นวัดที่ร่มรื่นสวยงามราวกับงานสถาปัตยกรรมชั้นดีที่อยู่กลางหุบเขาในต่างประเทศ

ครั้งแรกที่ได้เห็นวัดนี้ กวางว้าวมาก ด้วยความที่เราชอบงานสถาปัตย์อยู่แล้ว แล้วงานที่ดูเรียบแต่ดูออกว่าคิดเยอะเรายิ่งเห็นคุณค่า และที่ว้าวที่สุดคืองานไม้ที่เรียบง่าย ขรึม สงบ และลงตัว

กวางถามหาช่างไม้ที่ทำวัดนั้นตั้งแต่วันแรกที่ได้เห็นเลยค่ะ

นั่นเป็นครั้งแรกที่กวางได้รู้จักช่างไม้มืออาชีพ ซึ่งน้องคนนี้เป็นหนึ่งในช่างที่ทำงานให้พระอาจารย์

แม้น้องจะเคยทำงานโปรเจ็คอื่นให้ที่บ้านกวางมาบ้างแล้ว แต่โดยส่วนตัวกวางไม่เคยทำงานกับน้อง ทำให้ตอนแรกต้องขอลองทำงานด้วยกันในโปรเจ็คเล็กๆ ก่อน โชคดีว่าตอนนั้นที่บ้านกำลังต้องการรีโนเวทห้องครัวอยู่พอดี พอได้ลองทำงานด้วยกันก็เรียกว่าถูกอัธยาศัย และฝีมือน้องก็ดีมาก สุดท้ายเลยตัดสินใจฝากฝังกับน้องล่วงหน้าว่าถ้าพี่ทำตัวบ้านเสร็จเมื่อไหร่ ช่วยมาทำเฟอร์นิเจอร์บิวต์อินให้ที่บ้านใหม่พี่ด้วยนะ

บ้านและสตูดิโอโยคะที่กวางทำ จริงๆ แล้วแบบเฟอร์นิเจอร์ที่ได้จากสถาปนิกไม่ได้ละเอียดอะไร เพราะเราจ่ายค่าแบบน้อยมากเมื่อเทียบกับขนาดของพื้นที่ แล้วตอนนั้นผู้รับเหมาก็เร่งจะเอาแบบเพราะต้องการเริ่มสร้างฐานรากโครงสร้างตึกเลย แบบบ้านเลยเสร็จแค่การแบ่งพื้นที่ใช้สอย แปลนไฟฟ้า ปลั๊กไฟ และหน้าตาตึก แต่รายละเอียดพวกเฟอร์นิเจอร์บิวต์อินเราคิดกันว่าสุดท้ายก็ต้องปรับตามหน้างานอยู่ดี เลยไม่ได้ลงรายละเอียดกันจริงจัง ดังนั้นงานบิวต์อินเลยเรียกได้ว่าฝากฝังไว้กับประสบการณ์ของช่างไม้แทบจะ 100%

แน่นอนว่าแบบและสไตล์กวางพอรู้ว่าตัวเองต้องการแบบไหน แต่คนที่จะประกอบร่างโครงสร้างภายในของบิวต์อินชิ้นนั้นให้ออกมาได้ดั่งใจก็คือช่างไม้

ในการทำงานแต่ละชิ้นเราคุยกันเยอะมาก หลายอย่างกวางหาแบบเองจากหนังสือ จาก pinterest หลายอย่างที่คิดเองไม่ได้เพราะต้องอาศัยความเป๊ะเรื่องไซส์จริงๆ กวางก็จ้างน้องอินทีเรียเพิ่มเติมแบบเฉพาะส่วน หลายอย่างน้องช่างไม้ก็ช่วยคิดและเสนอแนะให้ พวกเราทำงานกันแบบลูกทุ่งมากๆ คือแบบวาดมือ (ยกเว้นงานของน้องอินทีเรียที่ใช้คอมวาด) วัดชิ้นงานกันเอง คิดกันเอง แบบไม่มีทฤษฎีตามหนังสืออะไร มีแต่เอาประสบการณ์ของแต่ละคนจับมาชนกัน กว่าจะได้ออกมาแต่ละแบบแต่ละชิ้นก็ใช้เวลา

ขั้นตอนตั้งแต่การพาไปรู้จักไม้แบบต่างๆ รู้จักราคาไม้แต่ละชนิด เพื่อที่เราจะพอกะได้ว่าเราไหวที่ประมาณไหน ช่วยกันคิดแบบ ตบไปตบมา ไม้ด้านใน ไม้ด้านนอก บางทีก็ใช้ไม้คนละชนิดกันขึ้นอยู่กับราคา ส่วนไหนที่สามารถทำให้สวยในราคาไม่แพงได้ก็ทำ

อย่างตู้เสื้อผ้ากวาง ปกติถ้าเป็นตู้แบบมีพื้นตู้ มีบานปิดจะราคาแพงมาก แต่เนื่องจากตู้เสื้อผ้าเราเป็นแบบ walk through คือเป็นทางเดินที่ใช้ผ่านเพื่อเข้าห้องน้ำด้วย ก็เลยคิดว่าไม่จำเป็นต้องทำบานปิดก็ได้ แค่ทำราวแขวนง่ายๆ และหาชั้นพลาสติกมูจิมาใส่ หาม่านมากั้นแยกพื้นที่ก็สวยแล้ว จากตู้ราคาหลักแสนก็เหลืออยู่แค่หลักพัน

แล้วเราก็ไปลงทุนกับส่วนที่เห็นและใช้งานบ่อยแทน อย่างตู้หนังสือ ประตูบ้าน และห้องครัว

กวางมีส่วนช่วยในทุกขั้นตอนของการทำบ้านหลังนี้จริงๆ ตั้งแต่คิดฟังค์ชั่นทุกอย่าง เลือกพื้นไม้ เลือกกระเบื้องทุกชิ้น เลือกความสูงเคาน์เตอร์ครัว เลือกไม้ด้านนอกด้านในบิวต์อิน เลือกออกแบบการใช้งาน ลิ้นชักเล็กใหญ่ ชั้นสูงต่ำเท่าไหร่ นึกไม่ออกว่ามีอะไรที่ไม่ได้คิดบ้าง เพราะคิดมาแล้วเกือบทุกเรื่องเท่าที่สมองน้อยๆ จะคิดออกเกี่ยวกับบ้าน คิดหลายๆ รูปแบบ หลายๆ สถานการณ์

มันเป็นความทรมานบันเทิงรูปแบบหนึ่ง คือเราร้องไห้กับโปรเจ็คนี้ไปเยอะมาก เพราะมันก็จะมีช่วงที่เรายุ่งกับงานอื่นจนหัวหมุน มีช่วงที่คิดไม่ออกว่าควรจะเอาแบบไหน เพราะหลายๆ อย่างคือไม่มีความรู้ก็ต้องไปถามคนอื่น ไปอ่านเพิ่ม ไปศึกษาเพิ่ม แต่ในขณะเดียวกันมันก็มีความสะใจที่ได้ทำสิ่งที่เคยอยากทำมาตั้งแต่เด็กคือการออกแบบบ้านของตัวเอง

อย่างช่วงแรกๆ ที่โครงห้องน้ำฝั่งสตูโยคะเพิ่งเสร็จ กวางเดินเข้าไปดูแล้วตกใจว่าของจริงมันแคบกว่าที่เราเห็นในแบบมาก ก็เลยได้วิ่งถือแบบแปลนไปปรึกษาพี่สาวเพื่อนสนิทที่เป็นสถาปนิก ซึ่งตอนหลังเจ้คนนี้คือคนที่กวางวิ่งไปหาทุกครั้งที่กวางรู้สึกสิ้นไร้หนทางแล้วจริงๆ (ซึ่งก็เกิดขึ้นถึงสามครั้ง) เจ้ดูแปลนแล้วก็จัดแจงแก้แบบให้ด้วยการขีดเส้นแค่ไม่กี่เส้น แต่ปัญหาจบแถมพื้นที่ใช้สอยในห้องน้ำดูใช้งานได้ดีมากขึ้นกว่าเดิม

แม้แต่ตอนทำพื้นหินขัดเจ้คนนี้ก็เป็นคนช่วยตีตารางลายเส้นของพื้นหินขัดให้ (พื้นหินขัดมีข้อจำกัดคือต้องวาดเส้นเป็นลายทุกๆ 3-5 ตารางเมตร กวางจำชัดเจนไม่ได้ แต่ที่ต้องทำเพราะมันจะช่วยให้พื้นไม่ร้าวต่อกันเป็นเส้นยาวในกรณีที่มันเกิดร้าวขึ้นมา) ตอนที่รู้ว่ามันต้องตีเส้นที่พื้นกวางนี่มึนตึ้บและโทรหาเจ้เป็นคนแรก บอกเจ้อย่างกระมิดกระเมี้ยนว่าหนูขอแบบง่ายๆ เจ้นั่งดูแปลนอยู่แป๊บนึง เอาไม้บรรทัดมานั่งวัด เล็งหาตำแหน่งที่ตรงกับการแบ่งซอยห้อง ตรงกับตำแหน่งเสาแล้วเจ้ก็ขีดๆๆ ดูเหมือนง่ายนะ แต่ถ้าไม่มีประสบการณ์ก็คงทำแบบนี้ไม่ได้

อย่างตอนที่เราไปปรึกษาเจ้เรื่องปัญหาสีของไม้จริง (เล่าไว้อยู่ด้านล่าง) เจ้ก็เล่าว่าตอนเจ้ทำบ้านเองเจ้ก็ถึงกับเอาแผ่นไม้มานั่งเรียงกันเพื่อหาเฉดสีที่ใกล้เคียงกัน แล้วค่อยเอาให้ช่างปูแยกทีละส่วนๆ ก่อนลงสีที่เนื้อไม้จริง เราก็โอเค ที่คิดว่าเราละเอียดแล้วเราก็ยังไปไม่ถึงจุดที่เค้าอยู่จริงๆ (จุดที่เจ้อยู่นี่ไกลมาก ไกลลิบเลย)

อย่างพื้นหินขัดเอง ผู้รับเหมาของกวางก็เป็นคนแรกที่พูดเสนอขึ้นมาตอนที่คุยถามกันว่าพื้นชั้น 1 ชั้น 2 จะปูพื้นด้วยวัสดุอะไร เพราะพื้นที่ค่อนข้างใหญ่และยังไม่มีแพลนการใช้งานที่ชัดเจน ซึ่งกวางมองว่าถ้าปูกระเบื้องไปมันก็จะกลายเป็นการกำหนดมู้ด & โทนของพื้นที่ไปพอสมควร จะไม่สามารถพลิกแพลงได้มาก เผลอๆ อาจจะต้องปูใหม่ภายหลัง

แล้วพอลองไปดูพื้นหินขัดก็เห็นว่าเดี๋ยวนี้เค้ามีแบบที่ทันสมัย มีลายและสีที่ดูใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น เลยได้ลองหาช่างดู ช่างคนนี้กวางก็เจอจากในกลุ่มเฟซบุ๊คธรรมศาสตร์มาร์เก็ตเพลส เป็นคุณพ่อของน้องร่วมสถาบัน ซึ่งคุณพ่อก็ใจดีมาก มีอาสาจะมาขัดพื้นปิดท้ายหลังช่างทุกทีมออกจากหน้างานให้ด้วย

== พังแล้วพังได้อีก ==

ส่วนที่กวางคิดว่าเป็นความพังที่สุดของงานที่เกิดขึ้นในโปรเจ็คนี้ คืออะไรที่เรากลัวมันมักจะเกิดขึ้นจริง

สำหรับกวางเรื่องนั้นคือสี

สีเป็นความหลอนส่วนตัวของกวางมาตั้งแต่ไหนแต่ไร เพราะถ้าใครที่ตามเพจกวางมานานกวางจะเคยเล่าบ้างว่ากวาง (คิดเอาเองว่า) มีความสามารถในเรื่องการลอกรูป แต่กวางไม่มีความสามารถเลยในเรื่องสี กวางแยกสีไม่ออก กวางไม่เข้าใจความแตกต่างของสี และมันเป็นเรื่องที่กวางกลัวที่สุดว่าจะพลาดเพราะเราบอกไม่ได้ว่าอะไรมากไปน้อยไป เรารู้แค่ว่าเราชอบอะไรไม่ชอบอะไร แต่ก็ต้องมาในสเกลที่ใหญ่พอ เช่น ถ้าทาสีมาบนแผ่นกระดาษเล็กๆ แล้วจะให้จินตนาการว่าสีนี้ไปอยู่บนผนังทั้งผืนคือทำไม่ได้ บอกไม่ได้ว่าชอบหรือไม่ชอบ ไม่เข้าใจ ไม่สามารถ ไม่ไหวจริงๆ

ดังนั้นเรื่องนี้จึงเป็นความกลัวตั้งแต่แรกที่เริ่มทำงานบิวต์อินไม้แล้ว ว่าเราทำงานไม้ออกมาสวยขนาดนี้ จะไปพลาดตอนสุดท้ายที่การลงสีมั้ย เพราะงานเฟอร์นิเจอร์ไม้จริงจะออกมาสวยหรือไม่สวยต้องอาศัยฝีมือของช่างสี ไม่เหมือนงานไม้ลามิเนตที่สามารถเลือกสีลามิเนตปิดผิวจากในแบบได้เลย

แล้วสรุปเราก็พลาดจริงๆ พลาดหนักมาก บิวต์อินชิ้นใหญ่ของกวางเกือบทุกชิ้นลงสีผิด.. อย่างน้อยชิ้นละสองรอบ บางชิ้นสามรอบ ตอนนั้นช๊อกมาก พูดไม่ออก แล้วช่างสีก็ติสท์จัด แทนที่จะลองลงสีแค่ส่วนเดียวแล้วให้เรามาตรวจก่อนว่าใช่อย่างที่ต้องการมั้ย มันดันลงทั้งชิ้น โห โกรธมากแต่พูดไม่ออก ไม่รู้จะด่าคำไหน จนรอบที่สามคือโทรไปหาน้องที่เป็นหัวหน้างาน ระบายความในใจที่ทุ่มเทกับสิ่งนี้มาหลายปี แล้วจบด้วยคำว่าพี่ผิดหวังในตัวน้องมาก (ที่ไม่คุมช่างให้พี่เลย) ด่าได้มากที่สุดคือเท่านี้จริงๆ

ความโชคดีคือช่างเรามีสามัญสำนึกที่ดี ไม่ทิ้งงาน และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการลอกสีทั้งหมด ลอกทำใหม่ ลอกทำใหม่ เพราะตราบใดที่ยังทำงานชุ่ย สุกเอาเผากิน พี่ก็ปล่อยไม่ได้เหมือนกัน

ผลสุดท้ายผ่านไปเกือบสามเดือนกับน้ำตาครึ่งถังและฝันร้ายอีกหลายคืน เราก็ได้สีบิวต์อินที่ถูกใจ แต่ก็มีร่องรอยฝากไว้ตามเฟอร์นิเจอร์มากมายจากการที่ต้องล้างสีหลายรอบ ซึ่งถ้าเราเป็นคนละเอียดจุกจิกกว่านี้ก็คงจะไม่ยอม แต่เพราะเหนื่อยแล้วและถือว่าเป็นบาดแผลแห่งเกียรติยศก็เลยปล่อยผ่าน

มารู้ตอนหลังว่าปัญหาเกิดจาก หนึ่ง คือช่างสีรีบเพราะอยากจะกลับบ้านไปหาลูก สอง คือส่งรูปสีเฟอร์นิเจอร์กันทางมือถือแล้วใช้มือถือคนละรุ่น สีที่แสดงบนหน้าจอมันเลยต่างกันทำให้สื่อสารกันไม่รู้เรื่อง และแน่นอนสาม คือระบบการคุมงานของน้องไม่ดีพอ

สุดท้ายเราได้เรียนรู้ว่าการทำบ้านมันต้องปล่อยวางบางเรื่องจริงๆ เพราะมันหาความสมบูรณ์แบบไม่ได้ อย่างเสาที่บ้านกวางจริงๆ ก็เบี้ยวเกือบทุกต้นเลย แต่เพราะเราไม่ได้จ้างคนไปตรวจเช็กงานตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง แล้วเราเองก็ดูของพวกนี้ไม่ออก แต่เพราะส่วนตัวไม่ได้คิดว่ามันเป็นเรื่องใหญ่ (ยังไงมันก็ยังทำหน้าที่รับน้ำหนักของมันได้ละน่ะ) เลยปล่อยผ่านไป แต่ถ้าอันไหนไม่ได้จริงๆ ก็ค่อยจี้

ทำบ้านครั้งนี้ฝึกกวางเยอะมาก ฝึกให้เรามีสติ ฝึกให้เรามีวินัย บิ้วท์พลังตัวเองเยอะๆ เพราะจะหลุดไม่ได้ ถ้าช่วงไหนที่งานเดินหน้าไว เราก็ต้องมีสติ มีแรงใจที่จะติดตามงาน ซื้อของและประสานงานทุกอย่างให้เสร็จราบรื่น

ด้วยความที่กวางคิดเผื่อล่วงหน้ามาแล้ว ทำให้กวางตั้งสติได้ตั้งแต่แรกว่าเราจะทำให้ดีที่สุด จะไม่ผ่อนแรง จะทำเต็มที่ทุกเวลาที่ต้องดีลเรื่องบ้าน ตลอดสี่ปีที่ผ่านมากวางเลยพูดได้ว่ากวางทำได้ดีประมาณ 90% ของที่กวางควรทำแล้ว อีก 10% ที่เหลือก็คือผิดพลาดบ้าง แต่กวางรับได้เพราะมันที่สุดของกวางในแต่ละช่วงแล้วจริงๆ บางทีเราก็มีเรื่องราวอื่นๆ เข้ามาที่ทำให้เราหลุดโฟกัสไป แต่มันก็คือเต็มที่ของตอนนั้นแล้ว

ดังนั้นโปรเจ็คนี้เลยเป็นความภูมิใจว่าเป็นโปรเจ็คฝึกสติ ฝึกความปล่อยวาง ฝึกการจัดการ ฝึกการบริหารเงิน ทำให้กวางได้เรียนรู้และเติบโตขึ้นในอีกด้านของตัวเอง และตอนนี้มันก็ใกล้จะจบแล้ว (กำลังเข้าสู่ช่วงเก็บงานรอบสุดท้ายของทุกทีม และเตรียมทำความสะอาดแล้ว)

ก็หวังว่าจะผ่านไปอย่างราบรื่น (ขอสักเรื่องเถ้ออ ปีนี้หนักแบบอัพเลเวลมาหลายเรื่องแล้ว เหนื่อยนะรู้มั้ย 😂)

ฝากสวดมนต์เผื่อให้กวางด้วยนะคะ (พูดจริงไม่ได้พูดเล่นน้าา) สาธุล่วงหน้าค่ะทุกคน 🙏🏻🙏🏻🙏🏻

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top
Scroll to Top